วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

"ข้าวหลามบ้านท่าศิลา"




(31 สิงหาคม 2559) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธศักดิ์ ฮมแสน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ คณะวิทยาการจัดการ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ กิจกรรม “ของดี บ้านฉัน” ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารฝึกประสบกาณณ์วิชาชีพล้านช้าง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเสริมสร้างทักษะการถ่ายทอดความคิดทางธุรกิจของนักศึกษาผ่านการนำเสนอผลงานด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ 

โดยมีคุณอรุณรัตน์ ชิงชนะ นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ, คุณวรรณทิตย์ กิจดี นักวัฒนธรรมชำนาญการ และดร.ศิริรักษ์ ฟอสเตอร์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและพัฒนาธุรกิจ SME มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เป็นคณะกรรมการในการตัดสินการประกวด


สวัสดีค่ะ กลุ่มของเราก้อได้นำ ข้าวหลามบ้านท่าศิลามาประกวดในงาน "ของดีบ้านฉัน" ซึ่งได้รับรางวัล ชมเชยด้วยนะคะ มาดูรายละเอียดผลงานกันเลยค่ะ










ประวัติความเป็นมา/รายละเอียดผลงาน

"ข้าวหลามบ้านท่าศิลา อ.ท่าตูม จังหวัดสุรินทร์" อันโดดเด่นซึ่งถือเป็นสินค้าของฝากติดมือขึ้นชื่อนักกินหลายๆ คนต่างยกให้ข้าวหลามบ้านท่าศิลา เป็นหนึ่งในข้าวหลามในดวงใจที่กินเมื่อไหร่ก็อร่อยเมื่อนั้น มาวันนี้ข้าวหลามท่าศิลาที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาช้านานก็ยังคงเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์แห่งรูปรสกลิ่นที่ชวนกินอยู่ไม่เสื่อมคลาย





เริ่มมาเป็นข้าวหลามท่าศิลา

กว่าที่ข้าวหลามท่าศิลาจะโด่งดังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวนั้น แรกเริ่มเดิมทีชาวบ้านท่าศิลามีอาชีพทำนา เมื่อหมดหน้านาก็จะทำข้าวหลามเป็นของหวานกินกันตามอัตภาพ โดยจะนำข้าวเหนียวไปแลกกับน้ำตาลและมะพร้าวจากหมู่บ้านอื่น ส่วนไม้ไผ่ป่าก็หาตัดกันเองบนเขาบ่อยาง


ในแต่ละวันข้าวหลามท่าศิลาจะมีผู้แวะเวียนมาซื้อกลับไปเป็นจำนวนมาก เมื่อมีงานประจำปีที่ศาลเจ้าหลังท่าศิลา จึงเกิดมีการค้าขายขึ้น พ่อค้าแม่ค้าส่วนจะขายข้าวหลาม ควบไปกับการขายอ้อยควั่นและถั่วคั่ว โดยในยุคนั้นมีขายกันเพียงไม่กี่เจ้า จนเมื่อมีการตัดถนนผัทมานนท์ ทำให้มีผู้คนแวะเวียนเข้ามาเที่ยวบางแสนมากขึ้น เกิดร้านค้ามากมายเรียงยาวตามเส้นทางสายปัทมานนท์ ต.ท่าศิลา จ.สุรินทร์ ที่ไม่ว่าใครผ่านไปผ่านมาต้องแวะลงไปซื้อข้าวหลามติดไม้ติดมือกลับบ้าน ซึ่งปัจจุบันข้าวหลามท่าศิลาผ่านยุคผ่านสมัยมาเป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้ว











เผาข้าวหลามแบบบ้านท่าศิลา

ในส่วนของการเผาข้าวหลามนั้นก็ถือว่ามีความสำคัญเช่นกัน ณัฐธิดาได้อธิบายถึงวิธีการทำข้าวหลามทั้งแบบโบราณและแบบสมัยใหม่ว่า


"วิธีทำข้าวหลามนั้นเริ่มจากการแช่ข้าวเหนียว และถั่วดำไว้ก่อน เมื่อแช่ข้าวเหนียวได้ที่แล้วนำไปต้มให้สุก จากนั้นนำข้าวเหนียวสุกใส่กะทิที่ผสมเกลือกับน้ำตาลไว้แล้ว คลุกให้เข้ากัน นำไปใส่กระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ก่อนจะนำไปสู่กระบวนการเผา ซึ่งการเผาข้าวหลามที่หนองมน มี 2 วิธี คือ การเผาข้าวหลามแบบฟืน และแบบเตาแก๊ส



กรรมวิธีการเผาข้าวหลามแบบโบราณที่ใช้ฟื้น กาบมะพร้าว และเศษไม้ไผ่


"การเผาข้าวหลามแบบฟืนเป็นการเผาข้าวหลาม แบบดั้งเดิม ที่ต้องวางเรียงข้าวหลามบนพื้นดินเป็นแถวยาว ใช้กาบมะพร้าว ฟืน และเศษไม้ไผ่ที่เหลือจากการทำกระบอกข้าวหลามมาสุม คนเผาต้องใช้แรงและพลังงานเยอะในการเผา ซึ่งกว่าจะได้ข้าวหลามมา ต้องใช้เวลาเผานานกว่า 3 ชั่วโมง ทั้งยังต้องล้างเก็บ ทำให้ยากลำบาก คนทำข้าวหลามในปัจจุบันจึงเปลี่ยนจากการเผาข้าวหลามแบบโบราณมาใช้เตาเผาแทน"

แรงบันดาลใจในการสร้างสรรผลงาน


ชาวบ้านเห็นว่าขายดี มีชื่อเสียง และวัตถุดิบมีเพียงพอในการผลิต จึงทำให้ชาวบ้านได้มีการทำข้าวหลามมากขึ้นและมีการวางขายมาจนถึงทุกวันนี้








แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การเป็นผุ้ประกอบการ
เราเลือกจะแปรรูปข้าวหลามมาบรรจุภัณฑ์กระป๋อง เพราะเหนว่าข้าวหลามในท้องตลาดมีปัญหาคือ พกพาลำบาก กินยาก เลอะมือและมีอายุสั้นไม่เกิน1เดือนจึงไม่เหมาะที่นักท่องเที่ยวจะซื้อกลับไปเป้นของฝาก เราจึงพัฒนาแปรูปไปบรรจุกระป๋อง  โดยมีเป้าหมายเพื่อการส่งออก สะดวกต่อการชนส่งเหมาะเปนสินค้าที่ระลึกของชาติ






ซึ่งทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดครั้งนี้ ได้แก่ ทีมขแมร์พาเพลิน จากสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ชื่อผลงาน “ขแมร์ เสราะยืง” ภายใต้การนำเสนอธุรกิจโฮมสเตย์ 
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่ทีมสีดา จากสาขาวิชาการตลาด ชื่อผลงาน “ผ้าไหมมัดหมี่บ้านตากูย” รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้แก่ทีมเด็กเสด-สาด เหลา ชื่อผลงาน “เจรียง เปิดกรุพื้นบ้าน สืบสานตำนานสุรินทร์” และรางวัลชมเชย 3 รางวัลได้แก่ “ผักพายน้อย” จากทีมกะทิสด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ, “ข้าวหลามบ้านท่าศิลา” จากทีมอาหารพื้นบ้าน สาขาวิชาการตลาด และ “นิเทศกันตรึมศิลป์” จากทีมนิเทศอนาล็อก สาขาวิชานิเทศศาสตร์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น